วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีพของคนทั่วโลกและอาจเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ คอมพิวเตอร์ถือ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการขนานนามให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางเทคโนโลยีเลยทีเดียว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดผ่านการสรรค์สร้างจากมันสมองอันชาญ ฉลาดของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและที่สำคัญที่สุดคือตอบสนองความต้องการของมนุษย์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญและถือเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ภายใน คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นคือ Mainboard




(เมนบอร์ด)
Mainboard (เมนบอร์ด) หนึ่งในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถือว่าเป็นเหมือนฐานรากหลักของระบบการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะมันจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยงตรง ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานโดยผ่านทาง Mainboard (เมนบอร์ด) ทั้งสิ้น
Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเห็นวางจำหน่ายตามศูนย์การค้าหรือร้านค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ถูกนำเข้าโดยบริษัทจัดจำหน่ายทั่วไปที่มีการเซ็นสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ผลิตภัณฑ์ Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซี ในส่วนของ Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับโน้ตบุ๊กและเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นยังมีให้เห็นกันไม่มากนัก สำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีนั้นส่วนใหญ่จะแบ่งแยกตามการรองรับโพรเซสเซอร์ที่มีวางจำหน่ายจากทางค่าย Intel และ AMD โดยแบ่งออกเป็น ซ็อกเก็ต A (462), ซ็อกเก็ต 478, ซ็อกเก็ต 754 และล่าสุดกับแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังได้รับการจับตามองของผู้ใช้งานทุกกลุ่มและเป็นนิยมกันอยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นซ็อกเก็ต 775 และ ซ็อกเก็ต 939 ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องภายใต้ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นยักใหญ่ระดับหัวแถวแห่งวงการ Mainboard (เมนบอร์ด) ของโลกอาทิ ASUS, GIGBYTE, MSI, DFI, ABIT, ASROCK ฯลฯ
เมื่อเรามองดู Mainboard (เมนบอร์ด) ตามลักษณะทางกายภาพจะพบว่า Mainboard (เมนบอร์ด) มีลักษณะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่มีชิปเซต ตัวต้านทานต่าง ๆ และอะไรต่ออะไรมากมาย (ฮือ...ไม่รู้ซักกะอย่าง) เอาเป็นว่าองค์ประกอบหลักของ Mainboard (เมนบอร์ด) ทั่วไปนั้นทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำคัญดังนี้
โพรเซสเซอร์ (Processor) หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ซีพียู" นั่นเอง ถือเป็นสมองของคอมพิวเตอร์เพราะทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆ โดยปัจจุบันซีพียูที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเราก็คง หนีไม่พ้นค่าย Intel และ AMD โดยซีพียูของ Intel รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 775 (Pentium4 Prescott / Extreme Edition / Pentium D / Pentium Extreme Edition / Celeron D Prescott ) และ 478 (Pentium4 / Celeron Northwood) ส่วนทางด้าน AMD จะรองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 939 (Athlon64 FX / Athlon64 ), 754 (Athlon64 / Sempron) และ 462 หรือ Socket A (AthlonXP / Sempron / Duron) ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ทางเอเอ็มดีจะผลักดันซีพียูที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม 462 ให้ไปเป็น 754 ทั้งหมดหน่วยความจำ (Memory)Random Access Memory หรือที่เรารู้จักกันนาม Ram ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเก็บข้อมูลเมื่อเปิดเครื่องและข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่อง (เข้าใจแล้วใช่ไหม..??) โดยหน่วยความจำหลักที่ใช้รองรับการทำงานของระบบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น หน่วยความจำแบบ SDRAM , DDR SDRAM , RDRAM และล่าสุดกับหน่วยความจำแบบ DDR2 ซึ่งขนาดความจุที่ใช้รองรับอยู่ระหว่าง 128MB ไปจนถึงความจุที่มากถึงระดับกิกะไบต์(GB) เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าใน Mainboard (เมนบอร์ด) รุ่นใหม่ ๆ จะสนับสนุนการทำงาน ของหน่วยความจำหลักแบบ Dual Channel ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มค่าแบนวิดท์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วรวมถึงรองรับขนาดความจุได้มากถึง 8.5 GB เลยทีเดียว ชิปเซต (Chipset)ชิปเซตบน Mainboard (เมนบอร์ด) ทำหน้าที่สนับสนุนและบริหารจัดการภายในระบบการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ในการทำหน้าที่ทั้งระบบการประมวลผลกลาง หน่วยความจำ การประมวลภาพทางกราฟิก รวมไปถึงภายใต้เทคโนโลยีที่ได้รับการบรรจุมาพร้อมกับตัวชิปเซตและคอนโทรลเลอร์ อาทิ Serial ATA , IEEE1394, USB 2.0, ระบบเสียง, ระบบเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดยแบ่งการรองรับออกเป็น 2 ส่วนนั่นคือ นอร์ธบริดจ์ (NorthBridge) และ เซาธ์บริดจ์ (SouthBridge) AGP และ PCI Expressตัวประมวลผลภาพผ่านทางจอมอนิเตอร์ที่รองรับการทำงานร่วมกับชิปเซต หน่วยความจำ และ Direct X โดยชิปเซตที่ได้รับความนิยมก็เช่น NVIDIA, Intel, VIA, SiS หรือน้องใหม่อย่าง ATI โดยปัจจุบันการอินเทอร์เฟสกราฟิกการ์ดได้มีการพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพในการประมวลผลรวมไปถึงความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลให้สูงขึ้นจนทำให้เกิดเทคโนโลยีสำหรับกราฟิกที่มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบล่าสุดภายใต้ชื่อ PCI ExpressX16 กับคุณสมบัติที่จะทำให้การทำงานด้านกราฟิกเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่สูงถึง 4GBps นอกจากนั้นประสิทธิภาพของเทคโนโลยี PCI Express ยังได้รับการสนับสนุนความสามารถในการประมวลผลภาพไปอีกขั้นกับเทคโนโลยี SLI เทคโนโลยีที่นำเอากราฟิกการ์ด 2 ตัว ทำงานบนช่องสัญญาณ PCI-Express 16X ที่เชื่อมต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ SLI Bridge มาทำการประมวลผลภาพ โดยจะได้ประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพและการเรนเดอร์ภาพเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ในการทำงานบนในส่วน PCI ก็กำลังจะถูกแทนที่ด้วย PCI Express ด้วยประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล รวมไปถึงการทำงานที่แยกความเป็นอิสระต่อกันทำให้สามารถทำงานบนค่าแบนวิดท์ในระดับสูงได้พร้อมกัน ระบบเสียง (Sound Onboard)ระบบเสียงอาจจะไม่สำคัญเท่าอุปกรณ์อื่น ๆ แต่คุณไม่ควรมองข้ามเพราะอย่างน้อยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อการ์ดเสียงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน คุณภาพของระบบเสียงที่มาพร้อมกับ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเห็นได้จาก บาง Mainboard (เมนบอร์ด) มีการนำเทคโนโลยี DOLBY SURROUND ซึ่งเป็นเทคโนโลยีคุณภาพเสียงโดยเฉพาะ ร่วมกับการทำงานกับลำโพงแบบหลายทิศทาง ซึ่งปัจจุบันรองรับอยู่ที่ 8 ทิศทาง และเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลง และรับชมภาพยนตร์ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) ระดับสูงยังสนับสนุนช่องสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF แบบ Optical และ Coaxail ระบบเครือข่าย (LAN)ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ใช้งานที่ทำงานภายใต้รูปแบบขององค์กร ซึ่งต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายกลางรวมไปถึงโอน-ถ่ายข้อมูลภายในองค์กร ซึ่ง Mainboard (เมนบอร์ด) ที่มีวางจำหน่ายอยู่ในขณะนี้เกือบทุกรุ่นจะรองรับช่องสัญญาณในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วยมาตรฐานความเร็วที่ 10/100 Mbps รวมไปถึงใน Mainboard (เมนบอร์ด) ประสิทธิภาพสูงจะรองรับความเร็วระดับกิกะบิต 1,000 Gbps ซึ่งอาจจะมาในแบบคู่ และการเชื่อต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wiless LAN) คอนเน็กเตอร์และพอร์ต (Connector & Port)เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ Mainboard (เมนบอร์ด) ทุกตัวจะต้องมีไว้รองรับการทำงาน โดยอาจจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตนำมาให้ไว้ในแต่ละรุ่น คอนเน็กเตอร์และพอร์ตต่าง ๆ ถูกจำแนกออกเป็น 2 ส่วนนั่นก็คือ Internal ซึ่งเป็นพอร์ตรองรับที่ต้องเชื่อมต่อภายในตัว Mainboard (เมนบอร์ด) อาทิ USB, และ Back Panel ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกซึ่งประกอบไปด้วยพอร์ต PS/2, USB, Parallel, Serial Port, Audio, LAN มีไว้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับช่องสัญญาณดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น เมาส์ คีย์บอร์ด ลำโพง พรินเตอร์ ฯลฯ หรือใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะเพิ่มช่องสัญญาณ VGA เมื่อ Mainboard (เมนบอร์ด) สนับสนุนการประมวลผลภาพในตัว รวมไปถึงใน Mainboard (เมนบอร์ด) ประสิทธิภาพสูงจะมาพร้อมกับช่องสัญญาณ S/PDIF และ IEEE 1394 Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ทางผู้ผลิตได้พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาในแต่ละรุ่นนั้นมีการนำเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับ Mainboard (เมนบอร์ด) พร้อมทั้งลดข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ อาทิเช่น เทคโนโลยี Hyper ThreadingHyper Threading (HT) หนึ่งในเทคโนโลยีของทาง Intel เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มสมรรถนะให้กับผู้ใช้งาน โดยที่ซอฟต์แวร์จะมองเห็นโพรเซสเซอร์เพนเทียมโฟร์หนึ่งตัว เป็นโพรเซสเซอร์สองตัว โดยอาศัยช่วงสัญญาณนาฬิกาที่เคยว่าอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เทคโนโลยี Hyper Threading ทำให้โพรเซสเซอร์ดังกล่าว สามารถทำงานที่แบ่งออกเป็นสองงานพร้อมกันได้ แทนที่จะทำงานได้เพียงทีละงาน ซึ่งจากมุมมองของตัวซอฟต์แวร์ สิ่งนี้หมายถึงระบบปฏิบัติการและโปรแกรม ของผู้ใช้ จะสามารถจัดลำดับการประมวลโพรเซสเซอร์ หรืองานบนโพรเซสเซอร์ได้ เสมือนกระทำบนระบบมัลติโพรเซสเซอร์ของจริง ประโยชน์จากเทคโนโลยี Hyper Threading ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือเมื่อโพรเซสเซอร์ตัวหนึ่งเกิดการหยุดชะงัก โพรเซสเซอร์อีกตัวที่เหลือจะยังทำงานต่อไปได้ เทคโนโลยี Hyper Transportเทคโนโลยีอัจฉริยะของทาง AMD ในการจัดสรรการเชื่อมต่อข้อมูลในระบบการทำงานหลักความเร็วสูงของเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปและเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งส่งผลทำให้การประมวลผลและเข้าถึงข้อมูล ผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เป็นไปได้รวดเร็วกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันพร้อมทั้งช่วยเพิ่มค่า Band width ให้สูงขึ้นส่งผลให้สามารถลดปัญหาการเกิดคอขวดในการส่งถ่ายข้อมูล อีกทั้งยังใช้งานหน่วยความจำของระบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมากขึ้นด้วย เทคโนโลยี Serial ATAหนึ่งในเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิล ATA สำหรับลำเลียงข้อมูลขนาดกว้าง 2 นิ้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้น เมื่อความเร็วในการส่ง ผ่านข้อมูลปัจจุบันในรูปแบบของ IDE สูงสุดอยู่ที่ 133 MBต่อวินาที ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ) แบบใหม่ คือ Serial ATA ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วในการลำเลียงข้อมูลที่ระดับ 150 MBps และ ปัจจุบันไดรับการพัฒนาความเร็วมาอยู่ที่ 300MBps ภายใต้รหัส Serail ATA 2 และในอนาคตอันใกล้นี้กำลังจะถูกพัฒนาในเรื่องของความเร็วเพิ่มขึ้นไปเป็น 600 MBps ด้วย เทคโนโลยี Serial ATA นี้ไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการรองรับกับฮาร์ดดิสก์เท่านั้น แต่รวมไปถึงอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ อย่าง Optical Drive ต่าง ๆ ทั้ง CD-ROM และ DVD-ROM อีกด้วย ซึ่งด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านของโพรเซสเซอร์ความเร็วสูง กับตัวฮาร์ดดิสก์ ให้รื่นไหล ด้วยความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุนั้น Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ ในการเพิ่มความเร็วในการ ถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ในอนาคต เทคโนโลยี IEEE 1394เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เกี่ยวกับด้านมัลติมีเดียกับเครื่องพีซี ที่มีอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมัลติมีเดียความเร็วสูงที่ 400 เมกะบิต (Mbps)และปัจจุบันได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้นด้วยอัตราความเร็วอยู่ที่ 800 เมกะบิต (Mbps) ที่ห้อยท้ายมากับรหัส "b" (IEEE 1394b) โดยการทำงานของ เทคโนโลยีนี้ในการส่งผ่านข้อมูลจะแตกต่างไปจากระบบการเชื่อมต่อแบบเดิม อย่างเช่น เครื่องเสียงที่ใช้ในบ้าน สายสัญญาณเสียง จะเป็นสายเฉพาะสำหรับเสียง เท่านั้น และเมื่อมีระบบภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง สายสัญญาณและจุดต่อเชื่อมจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจนแต่ในส่วนระบบดิจิตอล สัญญาณทุกรูปแบบถูกเปลี่ยนไปเป็นข้อมูลแล้ว การต่อเชื่อมของอุปกรณ์เหล่าจะ สามารถใช้สายสัญญาณเส้นเดียวที่ทำหน้าที่ในการรับ-ส่งสัญญาณที่เป็นข้อมูล และการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ไปพร้อมกันอีกด้วย ทิศทางของ IEEE-1394 คงไม่ใช่แค่การต่อเชื่อมกับกล้องวีดิโอเท่านั้น แต่มันหมายถึงรูปแบบของระบบเครือข่ายข้อมูลของอุปกรณ์สื่อบันเทิง ทั้งหลายที่มีใช้ในบ้าน ที่กำลังถูกจัดให้เข้าสู่มาตรฐานนี้ ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดีทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ทั้งหลาย กำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายขึ้น และจากความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง จะทำให้ผู้ใช้ ลดความกังวลว่าเครื่องจะเสีย หรือกลัวไฟฟ้าลัดวงจรและความยุ่งยาก สิ่งเหล่านี้จะหายไป และอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานคนมากขึ้น ... เทคโนโลยี USB 2.0เมื่อพูดถึง Universal Serial Bus หลายคนคงไม่ค่อยคุ้นนักกับคำนี้แต่ถ้าเป็น USB หลายคนต้องร้องอ๋อ...กันเลย เทคโนโลยี USB เป็นพอร์ตที่มากับ Mainboard (เมนบอร์ด) เพื่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆเข้ากับเครื่องพีซีของคุณ โดยพอร์ต USB 2.0 มีอัตราของการรับ-ส่งข้อมูลที่ 480 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่า USB เวอร์ชัน 1.1 ที่ให้อัตราส่งข้อมูลเพียง 12 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 40 เท่าเลยครับ และด้วยแบนด์วิดท์ขนาดนี้ จึงเพียงพอสำหรับการเล่นวิดีโอที่ยังไม่บีบขนาดที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาทีได้เลยทีเดียว เทคโนโลยี USB 2.0 ยังเพิ่มความพอใจของคุณมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้งานที่ง่าย และคุณสมบัติที่โดดเด่นนั่นก็ คือเมื่อเสียบแล้ว สามารถทำงานได้ทันที อีกทั้งรองรับการทำงานของ USB 1.1 อีกด้วย ซึ่ง USB 2.0 เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อันรวมไปถึงอุปกรณ์สำหรับเก็บ ข้อมูลชนิดที่ต่อภายนอกอย่าง กล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องวิดีโอ พรินเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด หรือแม้แต่อุปกรณ์เครือข่ายด้านเน็ตเวิร์ค ปัจจุบันเทคโนโลยี USB 2.0 บน Mainboard (เมนบอร์ด) สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 10 พอร์ตเลยทีเดียว เทคโนโลยี RAID (Redundant Array of Independent Disks)คำว่า RAID หรือ Redundant Array of Inexpensive Disks หรือการนำเอาฮาร์ดดิสก์หลายๆ ตัวมาเชื่อต่อกันผ่านตัวController เพื่อจุดประสงค์ ในการเพิ่มความจุ หรือความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยี RAID มีให้เห็นตั้งแต่ RAID 0, RAID 1 ไปจนถึง RAID 53 กันเลยทีเดียว แต่ใน Mainboard (เมนบอร์ด) ทั่วไปส่วนใหญ่สามารถแบ่งการทำงานออกเป็นสองระดับ ได้แก่ RAID 0, 1 และ RAID 0+1 โดย RAID 0 จะเป็นการแตกข้อมูลออกเป็นบล็อก ๆ และ เขียนลงฮาร์ดไดรฟ์กระจายไปทั้งสองไดรฟ์ (Striping) ซึ่งจะไปช่วยเร่งความเร็วในการเข้าถึงฮาร์ดไดรฟ์และส่งผ่านไฟล์ นอกเหนือไปจากการเร่งกระบวนการเปิด ไฟล์และแอพพลิเคชั่น ส่วนของทาง RAID 1 จะทำการป้องกันการสูญหาย ของข้อมูลโดยการเก็บสำเนาบนฮาร์ดไดรฟ์ทั้งสองตัว (Mirroring) ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ น่าเชื่อถือมากสำหรับการเก็บข้อมูลและแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญและเนื่องจากเทคโนโลยี RAID มีโอเวอร์เฮดที่น้อยกว่าเทคโนโลยีเชื่อมต่อดิสก์ ATA แบบขนาน จึงทำให้ Serial ATA (S-ATA) สามารถอ่านไฟล์จากดิสก์ที่แคชในโหมด Burst เร็วขึ้นกว่า ATA 100 ซึ่งส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลของแคชได้เร็วขึ้น ในส่วน ของแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจได้รับสมรรถนะของระบบที่ดีขึ้นพร้อมทั้งสแกนไวรัสได้อย่างต่อเนื่องและสามารถแก้ไขและเรียกดู พรีเซนเทชันหลาย ๆ ชุด พร้อมกันได้ อีกทั้งระบบแชร์ไฟล์ที่มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีขึ้น ตลอดจนสามารถอัพโหลดหรือดาวน์โหลดภาพดิจิตอลพร้อมกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย และด้วยความสามารถของชิปเซตตัวใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการทำงานอยู่บน Mainboard (เมนบอร์ด) ได้บรรจุความสามารถในการทำงานแบบ RAID ในโหมด 5, 6 และ 10 เพิ่มเติมเข้ามา เทคโนโลยี BIOS (Basic input output System)BIOS เป็นส่วนสำคัญสำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) มากทีเดียวโดยเราสามารถปรับแต่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามระบบที่ผู้ใช้งานต้องการในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การปรับการใช้งานของเทคโนโลยีหรือฟังก์ชันต่าง ๆ การเปิดระบบการทำงานของช่องสัญญาณ การปรับมาตรฐานของปฏิทินและเวลา ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปรับตั้งค่าการทำงานของ AGP ให้เป็นแบบ 4X/8X การปรับค่าการบูทเครื่อง ปรับรวมถึงการโอเวอร์คล็อก(overclock) ซีพียูและหน่วยความจำ แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยปรับแต่งค่าต่าง ๆ ที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงใน BIOS บนระบบปฏิบัติการ ได้เลยโดยไม่ต้องทำการ Restart ก่อนจะเข้าไปแก้ไขในส่วนของ BIOS เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำไม่ว่าจะเป็น ASUS และ ABIT ได้พัฒนาเทคโนโลยีชนิด นี้ที่ใช้ชื่อว่า EZ BIOS FLASH และ FLASH MENU เป็นต้น โดย BIOS ที่ได้รับความไว้ใจจากผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำอาทิ Award, AMI และ Phonix เทคโนโลยีในด้านอื่น ๆนอกจากเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) แต่ละแบรนด์เนมพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของผลิตภัณฑ์ในแต่ละรุ่นของตนเองเป็นหลัก อาทิเช่น เทคโนโลยี C.P.R. (CPU Parameter Recall) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในกรณีที่คุณทำการ โอเวอร์คล็อก แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดการแฮงก์ขึ้มาเมื่อทำการรีสตาร์ท BIOS จะทำการ เคลียร์ค่าต่างที่ถูกปรับแต่งขึ้นให้มาอยู่ในลักษณะเดิม หรือว่าเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนภาษาในปรับค่าการใช้งานต่าง ๆ ภายในส่วนของ BIOS และทั้งหมดนี้เป็น เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของ Mainboard (เมนบอร์ด) กับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ การรับประกันMainboard (เมนบอร์ด) ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า Mainboard (เมนบอร์ด) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อ Mainboard (เมนบอร์ด) เกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับ Mainboard (เมนบอร์ด) ควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้ Mainboard (เมนบอร์ด) เสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหน ีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในส่วนต่าง ๆและการ โอเวอร์คล็อก จนทำให้ Mainboard (เมนบอร์ด) เสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้นครับ การเลือกซื้อปัจจัยการเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ ซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด ถึงแม้ Mainboard (เมนบอร์ด) จะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดย Mainboard (เมนบอร์ด) ราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของ Mainboard (เมนบอร์ด) ติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK คุณสมบัติที่สำคัญของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัว Mainboard (เมนบอร์ด) ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น